รีวิว MDR-1ABT สัมผัสเสียง Hi-Res แบบไร้สาย

หูฟังนับว่าเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เราเข้าถึงเสียงเพลงได้ง่ายดายและไม่รบกวนเพื่อนบ้าน แต่ว่าพอนานๆ ไปเราก็จะเริ่มรู้สึกเกะกะกับสายสัญญาณที่พันไปมาระหว่างหูฟังกับเครื่องเล่น ยิ่งตอนที่เราใส่ออกไปนอกสถานที่ ยิ่งสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตขึ้นไปอีกระดับ จึงเป็นที่มาของหูฟังแบบไร้สายในปัจจุบัน

ในช่วงแรกๆ ที่มีหูฟังไร้สายออกมาให้เราใช้กัน คุณภาพเสียงที่ออกมาต้องบอกว่าสู้แบบมีสายไม่ได้เลย แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็เริ่มมีเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นมากมาย ทำให้ปัจจุบันหูฟังแบบไร้สายมีคุณภาพที่สูงขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

Sony MDR-1ABT เป็นหูฟังที่ถูกพัฒนามาเพื่อตอบสนองความต้องการเสียงเพลงแบบไร้สายผ่านสัญญาณบลูทูธที่ผมนำมารีวิวให้ทุกท่านได้ชมในครั้งนี้ครับ แน่นอนว่าเพื่อเป็นการจัดเซ็ตให้เข้ากัน ทางโซนี่ประเทศไทยก็ได้ส่ง NWZ-A15 เครื่องเล่นเพลงรุ่นมิดเอ็นด์ที่รองรับการเล่นไฟล์แบบ Hi-Res Audio มาจับคู่ในการทดสอบครั้งนี้ด้วย ก็ถือว่าเป็นโอกาสดีได้ลองทั้งหูฟังและเครื่องเล่นจากแบรนด์นี้ในคราเดียวกัน

mdr-1abt-product

MDR-1ABT Wireless Headphones
ราคาตั้ง 12,990 บาท

nwz-a15

NWZ-A15 Hi-Res Audio Player
ราคาตั้ง 6,990 บาท

MDR-1ABT เป็นหูฟังที่แบบ Full Size ที่ตัวไดร์เวอร์สามารถครอบมิดใบหูพอดี ตัวโครงสร้างเป็นพลาสติกแข็งสลับหนังหุ้มในบางจุด อย่างเช่นที่คาดหัวก็จะเป็นฟองน้ำนุ่มหุ้มด้วยหนังสีดำ เช่นเดียวกับฟองน้ำบริเวณไดร์เวอร์ ทำให้เวลาสวมใส่สบาย ไม่หนีบหู ส่งผลให้ใช้งานได้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน

อุปกรณ์ที่แถมมาให้ ประกอบไปด้วยตัวหูฟัง ถุงใส่ สาย 3.5 มม.​และสาย microUSB สำหรับเสียบชาร์จ
อุปกรณ์ที่แถมมาให้ ประกอบไปด้วยตัวหูฟัง ถุงใส่ สาย 3.5 มม.​และสาย microUSB สำหรับเสียบชาร์จ

MDR-1ABT_12

แม้ดูผิวเผินตัวหูฟังจะมีลักษณะปิด แต่หากสังเกตุดีๆ เราจะเห็นท่อคายเบสออกเล็กๆ ซ่อนอยู่ตรงนี้ครับ
แม้ดูผิวเผินตัวหูฟังจะมีลักษณะปิด แต่หากสังเกตุดีๆ เราจะเห็นท่อคายเบสออกเล็กๆ ซ่อนอยู่ตรงนี้ครับ

น้ำหนักรวมของตัวหูฟังก็เป็นอีกหนึ่งจุดที่หลายคนนำมาพิจารณาก่อนที่จะเลือกซื้อ ซึ่งจากการที่ทดลองใช้งานนานเกือบเดือน ก็พบว่าหูฟังตัวนี้แม้ว่าจะมีขนาดใหญ่ แต่น้ำหนักรวมนั้นค่อนข้างเบา ไม่สร้างภาระให้กับช่วงต้นคอของเรา ทำให้เราไม่จำเป็นจะต้องเกร็งคอเพื่อระวังไม่ให้หูฟังหล่นแต่อย่างใด

บริเวณเฮ้าส์ซิ่งด้านซ้ายจะเป็น NFC Reader สำหรับจับคู่กับเครื่องเล่นที่มี NFC เหมือนกัน
บริเวณเฮ้าส์ซิ่งด้านซ้ายจะเป็น NFC Reader สำหรับจับคู่กับเครื่องเล่นที่มี NFC เหมือนกัน ด้านขวาเป็นเหมือน Touchpad สำหรับใช้ควบคุมเครื่องเล่น

MDR-1ABT_14

บริเวณไดร์เวอร์ด้านซ้ายมือจะเป็นที่อยู่ของปุ่มเปิด-ปิด ตัวหูฟัง โดยการที่จะใช้งานแบบไร้สายนั้น ตัวหูฟังจำเป็นที่จะต้องใช้แบตเตอรี่ในการส่งสัญญาณเสียงควบคู่ไปด้วย โดยสามารถชาร์จไฟได้ผ่านการเสียบสาย microUSB เข้ากับแหล่งกำเนิดพลังงาน โดยขอแนะนำให้ศึกษาคู่มือก่อนเพื่อที่จะได้เลือกอะแด็ปเตอร์ให้เหมาะสมกับกำลังไฟ เพื่อป้องกันการเสียหายครับ

เสียบชาร์จด้วยสาย microUSB
เสียบชาร์จด้วยสาย microUSB
ปรับระดับสูงต่ำของไดร์เวอร์ได้แบบหูฟังทั่วไป โดยจะมีลักษณะเป็นตัวล็อคแบบขั้นๆ
ปรับระดับสูงต่ำของไดร์เวอร์ได้แบบหูฟังทั่วไป โดยจะมีลักษณะเป็นตัวล็อคแบบขั้นๆ

สำหรับตัวที่ทางทีมงานได้มาทดสอบจะมีโทนสีหลักเป็นสีดำแล้วขลิปตามขอบโค้งบางจุดด้วยสีแดงเมทัลลิคสวยงาม ตามด้วยการเล่นพื้นผิวแบบด้านและมันเงาสะท้อนแสงตามจุดเชื่อมต่อต่างๆ เกิดเป็นการจับคู่โทนสีและเส้นสายที่สร้างความหรูให้กับสินค้าได้เป็นอย่างดี

MDR-1ABT_11

มาดูที่ NWZ-A15 กันบ้างครับ ตัวเครื่องใช้วัสดุผิวสะท้อนแสงเป็นกรอบด้านหน้า และพลาสติกด้านผิวสากเป็นฝาหลัง ด้านหน้าประกอบด้วยจอแสดงผลขนาด 2.2 นิ้ว แบบ TFT LCD ใต้จอเป็นปุ่มซอฟต์คีย์สองปุ่มสำหรับใช้เลือกเมนูและเปิดปิดเครื่อง ถัดจากตรงนั้นก็เป็นปุ่มควบคุมแบบ 4 ทิศทาง พร้อมปุ่ม Play ตรงกลางแบบเดียวกับเครื่องเล่นทั่วไป

MDR-1ABT_09

ด้านข้างของตัวเครื่องจะเป็นสวิตช์สำหรับล็อคปุ่มกด, ปุ่มเพิ่ม-ลดเสียง และช่องเสียบ microSD สำหรับเพิ่มความจุได้สูงสุดถึง 64 GB ทางด้านล่างก็เป็นพอร์ตพิเศษของ Sony Walkman สำหรับเสียบสาย USB สำหรับโอนถ่ายข้อมูลและชาร์จแบตเตอรี่ เรื่องน้ำหนักนั้นเบาหายห่วงแน่นอน 66 กรัม ด้านข้างก็บางกำลังดี 8.7 มม. พกง่ายสบายกระเป๋า

ด้านหลังเป็นปุ่มรีเซ็ตสำหรับตั้งค่าเครื่องเล่นใหม่ และตัวอ่าน NFC เหมือนแบบเดียวกับหลังหูฟัง
ด้านหลังเป็นปุ่มรีเซ็ตสำหรับตั้งค่าเครื่องเล่นใหม่ และตัวอ่าน NFC เหมือนแบบเดียวกับหลังหูฟัง

สำหรับ A15 จะเป็นรุ่นที่มีขนาดหน่วยความจำภายในอยู่ที่ 16 GB และสามารถใส่การ์ด microSDXC เพื่อเพิ่มขนาดความจุได้มากสุดถึง 128 GB ซึ่งน่าจะเพียงพอสำหรับการฟังเพลงแบบ Hi-Res ต่อเนื่องเป็นเวลาหลายชั่วโมงได้สบายๆ (ถ้าแบตเตอรี่ไม่หมดก่อนนะ)

นอกจากอารยธรรมเมโสโปเตเมียที่เป็นประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของโลกใบนี้ เรายังมีอารยธรรม Walkman ที่นับว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของวงการเครื่องเสียง จนถึงทุกวันนี้แม้ว่ากระแส Walkman จะไม่ร้อนแรงเหมือนแต่ก่อน แต่การมาของ Hi-Res Audio กำลังจะมาปลุกกระแสดังกล่าวให้ดูครึกครื้นขึ้นมาอีกครั้งเพราะทั้ง MDR-1ABT และ NWZ-A15 มาพร้อมกับสารพัดฟีเจอร์สำหรับการฟังเพลงความละเอียดสูงทั้งคู่

MDR-1ABT-003

NWZ-A15 รองรับการอ่านไฟล์ FLAC ที่ความละเอียดสูงสุดถึง 24bit/192kHz ถ้าพูดกันง่ายๆ ก็เรียกว่าเป็นไฟล์ที่ใกล้เคียงกับต้นฉบับจากสตูดิโอมากที่สุด ซึ่งการที่จะโยนไฟล์ชนิดนี้จากเครื่องเล่นให้มาดังบนหูฟังโดยที่ยังคงประสิทธิภาพที่ดีอยู่ จำเป็นที่จะต้องมีตัวถอดรหัสสัญญาณที่ดี จึงเป็นที่มาของ Bluetooth® LDAC codec บนหูฟังของเราครับ

LDAC เป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยให้แบนด์วิธของการส่งสัญญาณเสียงผ่าน Bluetooth กว้างขึ้นกว่าแบบเดิม แต่ก่อนนี้เรามีส่ิงที่เรียกว่า SBC (Subband Coding) ที่ช่วยเราในเรื่องนี้อยู่แล้ว โดยมีช่วงแบนด์วิธอยู่ที่ 44.1kHz/16bit ซึ่งน่าจะเพียงพอแล้วในสมัยก่อน

ทว่าในปัจจุบันเมื่อเราเข้าสู่ยุค Hi-Res Audio ที่ไฟล์เพลงมีความละเอียดสูงขึ้น เราก็ต้องการช่วงส่งที่กว้างขึ้นด้วยเช่นกันโซนี่เลยได้คิดค้น LDAC ขึ้นมาซึ่งสามารถรองรับบิตเรตได้ที่ 990kbps (ก่อนหน้านี้ได้ 328kbps) ทำให้เวลาที่เราสามารถส่งคุณภาพเสียงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพขึ้นไปฟังได้อย่างไม่มีตกหล่น

ldac-chart

รูปอธิบายประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นมาของ LDAC ที่มีต่อไฟล์เพลงความละเอียดสูง

ซึ่งทางโซนี่ได้แบ่งโหมดให้เราเลือกใช้งาน LDAC ได้สามแบบด้วยกันดังต่อไปนี้

  1. Quality Priority mode (990kbps) โหมดใช้งานเต็มประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับการฟังในระยะใกล้ ที่ไม่จำเป็นต้องสำรองพลังงาน ซึ่งให้ประสิทธิภาพสูงกว่าฟังจาก CD ธรรมดาถึง 3 เท่า
  2. Normal mode (660kbps) โหมดปกติที่ถูกเปิดใช้งานมาจากโรงงานของเครื่องเล่น Walkman ทุกรุ่น
  3. Connection Priority mode (330kbps) คล้ายๆ กับโหมดประหยัดพลังงาน ช่วยให้การเชื่อมต่อลื่นไหลไม่มีสะดุด แต่ว่าคุณภาพเสียงก็จะถูก Downsampling ลงมา

นอกจากเรื่องของระบบการส่งสัญญาณแบบไร้สายแล้ว ทั้งตัวเครื่องเล่นและหูฟังยังมาพร้อมกับแอมป์ S-Master HX ที่ถูกปรับจูนมาให้เหมาะกับการเล่นไฟล์ประสิทธิภาพสูงมากขึ้น ด้วยปัจจัยต่างๆ ทั้งหมดนี้เลยช่วยให้ทั้งสองตัวนี้เป็นคู่หูที่พร้อมสำหรับ Hi-Res Audio อย่างแท้จริง

อึกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของหูฟังตัวนี้ก็คือไดร์เวอร์ขนาด 40 มม. ที่ถูกออกแบบมาให้พอเหมาะพอดีกับตัวเฮ้าส์ซิ่ง ซึ่งจะช่วยให้สามารถถ่ายทอดเสียงออกมาได้อย่างสม่ำเสมอทุกช่วงความถี่เสียง
อึกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของหูฟังตัวนี้ก็คือไดร์เวอร์ขนาด 40 มม.
ที่ถูกออกแบบมาให้พอเหมาะพอดีกับตัวเฮ้าส์ซิ่ง ซึ่งจะช่วยให้สามารถถ่ายทอดเสียงออกมาได้อย่างสม่ำเสมอทุกช่วงความถี่เสียง

ผมเริ่มทดสอบแบบไร้สายด้วยบรรดาไฟล์ FLAC ที่หลายระดับซึ่งได้มาจากหลากหลายแหล่ง บางไฟล์ก็ 96kHz/24bit บางไฟล์ก็ 192kHz/24bit สลับฟังกันไปเรื่อยๆ กดฟังตรงๆ จาก NWZ-A15 เนื่องจากทั้งสองตัวรองรับเทคโนโลยี NFC เพียงแค่เราหยิบเครื่องเล่นมานาบที่หูฟังข้างซ้าย ตัวเครื่องก็จะทำการจับคู่กันโดยอัตโนมัติ นับว่าออกแบบมาให้ง่ายและสะดวกจริงๆ ส่วนเรื่องการเบิร์นไม่จำเป็นต้องเบิร์นมาก เพราะเครื่องทดสอบนี้น่าจะผ่านมาหลายสำนักรีวิวคงมีการเบิร์นมาบ้างแล้วแน่นอน

ยกขึ้นมานาบแบบนี้เพื่อจับคู่ระหว่างหูฟังกับเครื่องเล่นที่มี NFC ได้ทันที
ยกขึ้นมานาบแบบนี้เพื่อจับคู่ระหว่างหูฟังกับเครื่องเล่นที่มี NFC ได้ทันที

หลังจากที่ได้ฟังก็ยอมรับว่า LDAC ช่วยในเรื่องการฟังเพลงประสิทธิภาพสูงได้จริงเสียงที่ได้นั้นออกมาดีสมราคา เนื้อเสียงมาเต็มแบนด์วิธอย่างที่เกริ่นไว้ ที่เห็นได้ชัดคือเพลงที่รายละเอียดเยอะๆ และมีบีตสนุก อย่าง Hero In The Sky จังหวะกลองช่วงอินโทรที่ผ่านการถอดรหัสด้วย LDAC ทำให้มิติและไดนามิคในจังหวะที่ไม้กระทบกับหนังกลองดังออกมาอย่างเป็นธรรมชาติอย่างที่ควรจะเป็น ก่อนหน้านี้หากได้ลองฟังแบบบลูทูธสมัยก่อนเสียงที่ถูก Downsampling ลงมาจะทำให้เสียงออกมามีลักษณะแบนๆ ซึ่งลักษณะเสียงแบบนี้จะไม่เกิดกับ MDR-1ABT แน่นอน

ผมเริ่มเลือกแทร็คที่เป็น Vocal Audiophile เน้นเสียงร้องเข้ามาฟังมากขึ้น เพื่อจับคาแร็คเตอร์เสียงของหูฟัง โดยถ้าใครเคยมีโอกาสสัมผัสสินค้าจากโซนี่มาบ้าง ก็พอจะเดาได้ไม่ยากว่าลักษณะเสียงจะเด่นในย่านเสียงกลางปลาย มีติดแหลมนิดๆ แล้วก็จะหายไปเด่นอีกทีในเสียงต่ำช่วงต้นๆ ซึ่ง MDR-1ABT ก็มีทิศทางเดียวกันครับ แต่จะมีความละเมียดละไมในการถ่ายทอดมากกว่ารุ่นที่รองลงมา คือถ้าคนชอบก็จะรักเลย แต่ถ้านิยมเสพเสียงที่ Natural ไม่เด่นด้านไหนเลย ก็อาจจะฟังแล้วเหมือนจูนไม่เข้ากับหู

ฟังมาเรื่อยๆ ตัวเครื่องก็ขึ้นเตือนว่าแบตเตอรี่ใกล้จะมอดแล้ว ก็คงไม่แปลกเพราะนับเวลารวมๆ กันแล้วทดลองฟังมานเกือบ 70 ชั่วโมง ฟังทั้งเพลงปกติสลับกับไฟล์​ Hi-Res ก็ถือมีอัตราการใช้พลังงานอยู่ในเกณฑ์ที่ดีใช้ฟังต่อเนื่องได้ยาวๆ เหมาะกับการพกพาไปเดินป่าลุยเขาเข้าตลาดสดได้หมดทุกสถานการณ์

สำหรับตัวเครื่อง NWZ-A15 จะมาพร้อมกับ EQ ให้เราเลือกปรับใช้งานกัน ซึ่งอยู่คู่กับเครื่องเล่นตระกูล Walkman มาแต่ช้านานแล้ว หลายคนอาจจะคิดว่าการปรับ EQ น่าจะไม่ใช่สิ่งที่คนเล่นเครื่องเสียงนิยมทำกันนัก เพราะเสียงที่ได้จะออกมาดูเหมือนหลอกๆ แต่ส่วนตัวผมคิดว่ามันเหมือนเป็นการจูนเสียงให้ออกรสชัดเจนขึ้น แม้ว่าฟังแบบไม่ปรับอาจจะดีที่สุด แต่นานเข้าก็จะเริ่มเบื่อ การปรับ EQ แบบไม่พีคจนเกินไป จะช่วยให้เสียงที่ฟังอร่อยขึ้นได้

ภาพเปรียบเทียบย่านความถี่และไดนามิคเรนจ์ระห่วางก่อนและหลังเปิดใช้งาน DSEE HX™
ภาพเปรียบเทียบย่านความถี่และไดนามิคเรนจ์ระห่วางก่อนและหลังเปิดใช้งาน DSEE HX™

นอกจาก EQ ก็จะมีฟีเจอร์การอัพสเกลเสียงที่มีชื่อเรียกว่า DSEE HX™ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของไฟล์เสียงที่มีแบนด์วิธไม่สูงมาก อย่างพวก mp3 หรือ wav ที่เราริปออกมาจากแผ่นซีดี การเปิดใช้งานก็เข้าไปที่ Setting > Music Setting > DSEE HX โดยบิทเรตสูงสุดที่ทางโซนี่เคลมว่าสามารถอัพสเกลให้เทียบเท่าจะอยู่ที่ 24 bit เลยทีเดียว เป็นฟีเจอร์ที่น่าจะเป็นประโยชน์มากๆ สำหรับคนที่นิยมฟังเพลงไฟล์เล็กๆ ไม่เน้นใหญ่โต

ลืมกันไปหรือยังครับว่าที่บริเวณไดร์เวอร์ด้านขวาของเราทำหน้าที่คล้ายกับทัชแพดที่สามารถใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องเล่น หรือแม้แต่เพิ่มลดระดับเสียงได้ เท่าที่ผมลองใช้งานดูเหมือนว่าการตอบสนองออกจะสับสนนิดหน่อย เพราะว่าทิศทางในการลากนิ้วของคำสั่งแต่ละชุดค่อนข้างที่จะคล้ายคลึงกันมาก ทำให้บางทีตัวหูฟังเองก็ตีความผิด สั่งข้ามเพลง เป็นลดเสียงบ้าง สั่งเพิ่มเสียง กลายเป็นกดหยุดเพลงซะงั้น ส่วนตัวผมว่ามองภายนอกก็ล้ำดีแต่พอเอาเข้าจริงด้วยความเป็นคนหัวโบราณนิดๆ ผมเลยคิดว่าการใช้ปุ่มกดดูจะถนัดและตอบโจทย์มากกว่า

ใครใช้แล้วคล่องก็สบายไปเลยครับ ไม่ต้องหยิบเครื่องเล่นขึ้นมาดู เป็นการฟังแบบไร้สายอย่างแท้จริง
ใครใช้แล้วคล่องก็สบายไปเลยครับ ไม่ต้องหยิบเครื่องเล่นขึ้นมาดู เป็นการฟังแบบไร้สายอย่างแท้จริง

การฟังเพลงแบบไร้สายผ่าน MDR-1ABT เป็นอะไรที่เพลินเหมือนได้มาเจอเพื่อนเก่าสมัยเรียน ทุกช่วงสัญญาณที่ถูกส่งผ่านมายังไดร์เวอร์ล้วนแล้วแต่มีประสิทธิภาพสูงเหมาะกับไฟล์เพลงแบบ Hi-Res มากๆ ทว่าตัวหูฟังไม่ได้มีดีที่ประสิทธิภาพเสียงเพียงอย่างเดียว การออกแบบที่ช่วยลดภาระของผู้ใส่ยังช่วยส่งผลให้เราอยู่กับมันได้นานขึ้น ผิดกับหูตัวอื่นที่ออกแบบมาให้หนีบใบหู พอใช้ไปนานๆ แล้วถอดออกจะรู้สึกได้ถึงอาการปวดใบหูแปล๊บๆ

แต่จากที่ฟังดูการนำมาแมทชิ่งกับ NWZ-A15 อาจจะดูเล็กเกินกำลังไปนิด แม้ว่าทั้งสองจะถูกออกแบบมาให้ทำงานประสานกันแบบไร้รอยต่อก็ตาม ถ้าให้แนะนำคู่ขาที่สามารถรีดเสียงออกมาได้เน้นๆ จริงๆ คงจะต้องเป็นซีรี่ย์ ZX ขึ้นไปจึงจะพอฟัดกับไดร์เวอร์ของ MDR-1ABT หรือถ้าใครเป็นเจ้าของซีรี่ย์ X ในตำนานอยู่ก็จะยิ่งเทพขึ้นไปอีก เพราะการที่เราได้แหล่งกำเนิดที่รุ่นใหญ่ขึ้น เท่ากับว่ากำลังขับจะมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งจะทำให้มวลเสียงทุกย่านความถี่มีความเข้มข้นและมีน้ำหนักที่ชัดเจนมากขึ้น

ถ้าจะให้ฟันธงว่าตัวหูฟังน่าซื้อหรือไม่ ก็บอกได้คำเดียวว่ามันค่อนข้างจะน่าสนใจพอตัวเลยครับ เพราะเราได้ฟีเจอร์การฟังแบบไร้สายที่ถูกพัฒนามาให้รองรับแบนด์วิธมหาโหดจากบรรดาไฟล์เพลงความละเอียดสูง และบุคลิกเสียงแบบโซนี่ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยจะฟังแบบมีสายก็ได้ หรือใช้แบบไร้สายก็เทพ แนะนำให้ไปทดลองฟังแล้วคุณจะเผลอซื้อโดยไม่รู้ตัว!

[su_tabs class=”my-custom-tabs”]
[su_tab title=”LIKE”]

  1. LDAC ทำงานได้ดีสมราคา ใช้ฟังเพลง Hi-Res โดยที่ได้ประสิทธิภาพแน่นๆ จนแทบไม่ต่างกับเสียบสายฟัง
  2. การจับคู่เครื่องเล่นและหูฟังทำได้ง่ายดายด้วย NFC แค่แตะก็พร้อมฟังในทันที
  3. งานดีไซน์ตัวหูฟังทำออกมาได้เยี่ยม น้ำหนักเบาและสวมใส่สบายหู ใส่ฟังได้ต่อเนื่องเป็นเวลานานขึ้น

[/su_tab]
[su_tab title=”DISLIKE”]

  1. Touch Command ที่ใช้ควบคุมเครื่องเล่นมีความแม่นยำไม่มากนัก บางทีก็ตีความการลากนิ้วเพื่อสั่งคำสั่งสลับกัน คนหัวโบราณที่มาจากยุคปุ่มกดอาจจ ะต้องใช้เวลาปรับตัวสักหน่อย
  2. คาแร็คเตอร์หูฟังจะเด่นเป็นโซนๆ ตามย่านความถี่ต่างๆ ซึ่งเป็นบุคลิกเด่นของโซนี่ หากเป็นคนชอบฟังแบบ Natural ที่กลมกล่อมครบทุกย่านเท่าๆ กันไม่มีอะไรเด่นอาจจะไม่ใช่แนวของท่าน

[/su_tab]
[/su_tabs]

Comments

comments